หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560

รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Biomedical Science (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย : ชื่อเต็ม ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์)
: ชื่อย่อ ปร.ด. (วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์)
ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม Doctor of Philosophy (Biomedical Science)
: ชื่อย่อ Ph.D. (Biomedical Science)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตร แบบ 1.1 เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี และใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
หลักสูตร แบบ 1.2 เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร 5 ปี และใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

ภาษาที่ใช้
ภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา
นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.1 ปรัชญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวการ แพทย์ ทั้งในแนวกว้าง แนวลึก และทันสมัย ในสาขา เทคนิคการแพทย์ กิจกรรมบำบัด รังสีเทคนิค และกายภาพบำบัด ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของชาติได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ยกระดับคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจของชาติได้อย่างยั่งยืน
1.2 วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มี:
1. ความรู้ ความสามารถในการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านปรัชญาและเทคโนโลยีชีวการแพทย์ และมีประสบการณ์ในงานวิจัยระดับสูง
2. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ผลการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของสังคมและประเทศชาติได้อย่างเหมาะสม
3. การสร้างผลงานวิจัยอันมีคุณค่าและคุณประโยชน์สูงสามารถเผยแพร่ได้ในระดับนานาชาติและ นำไปสู่การจดสิทธิบัตร
4. คุณธรรม จริยธรรม และสามารถทำงานร่วมกับนักวิชาการในสาขาอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร
ระบบการจัดการศึกษา
ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ไม่มีภาคฤดูร้อน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
หลักสูตร แบบ 1.1
1. เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.25 หรือ
3. เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ และมีค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.25
 4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษ โดยมีระดับคะแนนตามสถาบันทดสอบภาษาอังกฤษ ดังนี้

สถาบัน คะแนน
CMU-eTEGs 65
CU-TEP 75
TU-GET 550
KU-EPT 60
IELTS 5.5
TOEFL-PBT 500
TOEFL-CBT 173
TOEFL-IBT 61

 5. ไม่เคยถูกคัดชื่อออก อันเนื่องจากความประพฤติจากสถาบันการศึกษาใด
 6. เป็นผู้ที่ไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา
 7. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์
หลักสูตร แบบ 1.2
1. เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 หรือ
3. เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ และมีค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50
 4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษ โดยมีระดับคะแนนตามสถาบันทดสอบภาษาอังกฤษ ดังนี้

สถาบัน คะแนน
CMU-eTEGs 65
CU-TEP 75
TU-GET 550
KU-EPT 60
IELTS 5.5
TOEFL-PBT 500
TOEFL-CBT 173
TOEFL-IBT 61

 5. ไม่เคยถูกคัดชื่อออก อันเนื่องจากความประพฤติจากสถาบันการศึกษาใด
 6. เป็นผู้ที่ไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา
 7. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 หลักสูตรละ 210,000 บาทต่อคน
- แบบ 1.2 หลักสูตรละ 300,000 บาทต่อคน

โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
ก. วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
510898 ทน.บศ.898 วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต 48 หน่วยกิต
ข. กิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย
นักศึกษาอาจจะต้องศึกษากระบวนวิชาเพิ่มเติมตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์หลัก และจะต้องผ่านกิจกรรมวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร และจะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ประกอบด้วย
1) นักศึกษาต้องนำเสนอผลงานทางวิชาการโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ในรูปแบบการสัมมนาวารสาร (Journal Club Seminar) ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา อย่างน้อย ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ในทุกภาคการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษา (3 ปี หรือ 6 ภาคการศึกษา) กรณีที่นักศึกษาไปทำวิจัยนอกสถาบัน นักศึกษาต้องมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการในสถาบันนั้น กรณีถ้าไม่ได้นำเสนอต้องกลับมานำเสนอจนครบตามที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษา
2) นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมการสัมมนาวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนกิจกรรมการสัมมนาวิชาการที่จัดในแต่ละภาคการศึกษา โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ เพื่อแลกเปลี่ยนและเพิ่มพูนความรู้ระหว่างคณาจารย์ และนักศึกษา อย่างสม่ำเสมอตามตารางกำหนดการสัมมนาวิชาการ ในทุกภาคการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้ลา หรือให้งดการเข้าร่วมสัมมนาจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
3) นักศึกษาต้องรายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรทุกภาคการศึกษา
4) นักศึกษาต้องเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรรับเชิญที่มีความเชี่ยวชาญ ในสาขาวิชานั้นๆ ตามกำหนดการ ในทุกภาคการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษา
5) นักศึกษาต้องเสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
6) ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรือได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ อย่างน้อย 2 เรื่อง ทั้งนี้ จะต้องตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 1 เรื่อง และต้องระบุนักศึกษาเป็นชื่อแรก (First Author) ในผลงานเผยแพร่หลัก อย่างน้อย 1 เรื่อง
7) นักศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาตามแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัยโดยผ่านความ เห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะและรวบรวมส่งบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา
ค. กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
ภาษาต่างประเทศ (ตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย)
ง. การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying examination)
1) นักศึกษาต้องสอบวัดคุณสมบัติให้เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษาที่ 2
2) นักศึกษาที่ได้รับการอนุมัติให้โอนย้ายแผนการศึกษา จะต้องสอบวัดคุณสมบัติภายในภาคการศึกษาที่ 2 หลังการโอนย้ายแผนการศึกษา
3) หากสอบไม่ผ่านให้สอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง ภายในภาคการศึกษาถัดไป

โครงสร้างหลักสูตร แบบ 1.2 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
ก. วิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต
510897 ทน.บศ.897 วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต 72 หน่วยกิต
ข. กิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย
นักศึกษาอาจจะต้องศึกษากระบวนวิชาเพิ่มเติมตามคำแนะนำ (ถ้ามี) ของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และจะต้องผ่านกิจกรรมวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร โดยไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ประกอบด้วย
1) นักศึกษาต้องนำเสนอผลงานทางวิชาการโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ในรูปแบบ การสัมมนาวารสาร (Journal Club Seminar) ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ในทุกภาคการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษา (5 ปี หรือ 10 ภาคการศึกษา) กรณีที่นักศึกษาไปทำวิจัยนอกสถาบัน นักศึกษาต้องมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการในสถาบันนั้น กรณีถ้าไม่ได้นำเสนอต้องกลับมานำเสนอจนครบตามที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษา
2) นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมการสัมมนาวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนกิจกรรมการสัมมนาวิชาการที่จัดในแต่ละภาคการศึกษา โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ เพื่อแลกเปลี่ยนและเพิ่มพูนความรู้ระหว่างคณาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อย่างสม่ำเสมอตามตารางกำหนดการสัมมนาวิชาการในทุกภาคการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้ลาหรือให้งดการเข้าร่วมสัมมนาจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ฯ
3) นักศึกษาต้องรายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรทุกภาคการศึกษา
4) นักศึกษาต้องเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรรับเชิญที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ตามกำหนดการในทุกภาคการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษา
5) นักศึกษาต้องเสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
6) ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรือได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ อย่างน้อย 2 เรื่อง ทั้งนี้ จะต้องตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, PubMed หรือ Web of Science ทั้ง 2 เรื่อง และต้องระบุนักศึกษาเป็นชื่อแรก (First Author) ในผลงานเผยแพร่หลัก อย่างน้อย 1 เรื่อง
7) นักศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาตามแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัย โดย ผ่านความเห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะและรวบรวม ส่งบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา
ค. กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
ภาษาต่างประเทศ (ตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย)
ง. การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying examination)
1) นักศึกษาต้องสอบวัดคุณสมบัติให้เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษาที่ 4
2) นักศึกษาที่ได้รับการอนุมัติให้โอนย้ายแผนการศึกษา จะต้องสอบวัดคุณสมบัติภายในภาคการศึกษาที่ 2 หลังการโอนย้ายแผนการศึกษา
3) หากสอบไม่ผ่านให้สอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง ภายในภาคการศึกษาถัดไป